TAS 19 - Employee BenefitsValuation

TAS 19 - Employee Benefits Valuation

ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลประโยชน์พนักงาน เช่น เงินสำรองชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน, เงินรางวัลหรือของรางวัลเมื่อพนักงานทำงานครบตามอายุงาน

การที่บริษัทต้องจ่ายเงินให้พนักงานโดยขึ้นกับอายุงาน (Year of Service) ที่พนักงานได้ทำงานให้บริษัท จึงเรียกว่าภาระผูกพัน เงินจำนวนนี้เป็นเงินที่บริษัทรับรู้อยู่แล้วว่าจะต้องจ่ายแต่ยังไม่ได้จ่ายเพราะพนักงานยังไม่ถึงกำหนดที่จะได้รับ จึงถือเป็นหนี้สิน

ในแต่ละปีที่พนักงานทำงานให้บริษัทเพิ่มขึ้น 1 ปี บริษัทจะมีหนี้สินภาระผูกพันเพิ่มขึ้นอีก 1 ปี เช่นกัน ซึ่งภาระผูกพันนี้จะขึ้นอยู่กับ อัตราการขึ้นเงินเดือน อัตราการลาออก อัตราการเสียชีวิต อัตราการเจ็บป่วย จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยในการประเมินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน เมื่อบริษัทมีหนี้สินจึงต้องบันทึกลงบัญชีในแต่ละปีตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งในที่นี้คือมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์พนักงาน
โดยทั่วไปการประเมินผลประโยชน์พนักงานจะประกอบไปด้วยผลประโยชน์พนักงานดังต่อไปนี้

เงินสำรองชดเชยการเลิกจ้างงาน

เงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้างงาน หรือเกษียณอายุ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

รางวัล, เงินรางวัลเมื่อทำงานครบอายุงาน

การให้ของรางวัลจูงใจที่มีมูลค่า เช่น ทองคำ, เพชร หรือเงินสด เมื่อลูกจ้างทำงานให้บริษัทครบอายุงานตามที่บริษัทกำหนด

Our Mission

ขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนการให้บริการประเมินผลประโยชน์พนักงานไปสู่ Digital กับมาตรฐานสูงสุดในการคำนวณ ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล เพื่อให้บริการกับลูกค้าของเราในทุกขนาดธุรกิจ

TAS19 Digital Solution for Employee Benefits

World First Digital Solution for Employee Benefits

เทคโนโลยีขั้นสูงที่ถูกนำมาให้บริการการคำนวณผลประโยชน์พนักงานและประเมินเงินสำรองชดเชยการเลิกจ้างงานตามกฎหมายแรงงานไทย ตามมาตรฐานการบัญชีไทย TAS 19 และมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ IAS 19 ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

ระบบ Software Engineering ที่เราพัฒนามาให้ทำงานบน Server ประสิทธิภาพสูงที่ออกแบบมาเพื่อการคำนวณ Employee Benefits - TAS 19 / IAS 19 โดยเฉพาะ

TAS 19 - Interesting Facts About Us

We deliver only premium quality actuarial services to our clients. Each day more and more people are realising the power of TAS19.COM

312

Satisfied Companies

66,389

Employees Valuation

0.0038 

Milliseconds per Employee

100%

Audit Passing Rate

TAS 19 - Timeline

2560

 

1 January 2560

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระราชูปถัมภ์ มีแผนที่จะบังคับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for SMEs ซึ่งแปลมาจาก IFRS for SMEs ระดับนานาชาติ แทนการใช้ TFRS for NPAEs เดิม ซึ่งจะแบ่งระดับ NPAEs เดิมออกเป็น 2 ระดับคือ

- NPAEs ที่ซับซ้อน, SMEs ขนาดใหญ่ หรือมีความพร้อมสูง ซึ่งต้องทำรายงานหนี้สิ้นผลประโยชน์พนักงาน TAS 19 ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for SMEs

- NPAEs ที่ไม่ซับซ้อน, SMEs ขนาดเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะยังไม่บังคับให้ทำรายงานหนี้สิ้นผลประโยชน์พนักงาน TAS 19 ตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for SMEs ทั้งนี้ทั้งนั้นหากกิจการมีความพร้อมและไม่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงมากก็ควรจัดทำรายงานหนี้สิ้นผลประโยชน์พนักงาน TAS 19 เช่นกัน

ขณะนี้ TFRS for SMEs ได้ถูกนำมาทบทวนใหม่ ให้เหมาะสมกับประเทศไทย

2554

 

1 January 2554

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระราชูปถัมภ์ ได้มีการยกเครื่องมาตรฐานรายงานทางการเงินของประเทศไทยครั้งใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานรายงานทางการเงินของสากล ซึ่งในครั้งนั้นส่งผลให้มีการจัดประเภทกิจการในประเทศไทยเป็น 2 ระดับ

- กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ PAEs เช่น บริษัทมหาชน บริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้บริษัทกลุ่มนี้ต้องทำรายงานหนี้สิ้นผลประโยชน์พนักงาน TAS 19

- กิจการที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียสาธารณะ NPAEs คือกลุ่มบริษัทที่ไม่ใช่ PAEs ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for NPAEs (มาตรฐานชุดเล็ก) ทำให้บริษัทกลุ่มนี้ได้รับการอะลุ่มอล่วย ยังไม่ต้องทำ รายงานหนี้สิ้นผลประโยชน์พนักงาน TAS 19 ในตอนนั้น